ภาวะหมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome หลายๆ คนคงได้ยินกันมาบ่อยและใกล้ตัว สามารถเกิดได้โดยเฉพาะในวัยทำงาน
Burnout syndrome นี้เป็นกลุ่มอาการที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้อยู่ในโรคเกี่ยวกับการทำงาน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคทางด้านจิตใจ โดยให้ความหมายว่า Burnout syndrome เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะเครียดเรื้อรังจากการทำงาน (chronic workplace stress) ที่ไม่ได้รับการจัดการหรือรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
ลักษณะอาการ Burnout syndrome
1.รู้สึกหมดพลัง หรืออ่อนล้า
2.รู้สึกมีทัศนคติเชิงลบต่องานที่ทำ หรือรู้สึกไม่มีความสุขกับงานที่ทำ
3.ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
กลุ่มอาการ Burnout Syndrome ที่เกิดจากความเครียดจากการทำงานนั้น ทางการแพทย์ถือว่าเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกายที่เรียกว่า “ฮอร์โมนคอร์ติซอล” (cortisol) โดยร่างกายผลิตได้เองจากต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เพื่อกำจัดความเครียด ลดการอักเสบ เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อสร้างสมดุลให้ร่างกายสามารถจัดการกับความเครียดได้ แต่หากเราได้รับความเครียดเรื้อรังเป็นเวลายาวนาน เมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง ร่างกายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลได้ตามปกติ เกิดการเสียสมดุลของฮอร์โมนในต่อมหมวกไต ซึ่งภาวะนี้ทางเวชศาสตร์ชะลอวัย เรียกว่า “ภาวะต่อมหมวกไตล้า” (Adrenal Fatigue)
ภาวะต่อมหมวกไตล้า มีอาการดังต่อไปนี้
- ตื่นนอนตอนเช้าไม่สดชื่น
- ตื่นแล้วอยากนอนต่อ ถ้านอนต่อจะรู้สึกดี
- นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ต้องนอนกลางวัน
- อาการอ่อนเพลียดีขึ้นเมื่อได้รับประทานของหวาน ของเค็ม
- ติดกาแฟ รู้สึกอยากกาแฟ ถ้าไม่ได้ดื่มจะรู้สึกไม่สดชื่น
- มีอาการลุกแล้วหน้ามืด ตาลาย
- เครียด กังวล ซึมเศร้า
- ความจำลดลง
- เบื่องาน ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน
- ความรู้สึกทางเพศลดลง มีบุตรยาก
- ปวดประจำเดือนบ่อย ประจำเดือนผิดปกติ
- ผมร่วงไม่มีสาเหตุ
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีลมในท้อง
- ภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ เป็นผื่นแพ้
- ปวดหลัง ปวดคอ
การรักษา Burnout syndrome
การรักษา Burnout syndrome หรือภาวะต่อมหมวกไตล้านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเครียดที่จะเกิดขึ้น โดยสามารถทำได้ต่อไปนี้
- นอนหลับก่อน 4 ทุ่ม
- นอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบสามมื้อ โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า
- ไม่ควรรับประทานอาหารฟาสฟู้ด ของมันของทอด ของหวาน
- ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดิน โยคะ และไม่ควรออกกำลังกายหนักมากๆ
- หาเวลาพักผ่อน ไปเที่ยวต่างจังหวัด
- ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม เช่น หลีกเลี่ยงที่มีเสียงดัง ฝุ่นมาก
อาหารเสริม วิตามิน เกลือแร่และสมุนไพร ช่วยลดอาการจาก Burnout syndrome
นอกจากนี้แล้ว มีอาหารเสริม วิตามิน เกลือแร่และสมุนไพร หลายชนิดที่ได้รับการวิจัยมาแล้วว่าสามารถช่วยให้ร่างกาย มีพลังงานมากขึ้น ช่วยลดอาการจาก Burnout syndrome หรือภาวะต่อมหมวกไตล้า ได้
- Vitamin C เพิ่มภูมิคุ้มกัน และความสมดุลของต่อมหมวกไต
- VItamin B โดยเฉพาะ vitamin B5 และ B6
- Coenzyme Q10 กระตุ้นพลังงานในร่างกาย
- Ashwagandha ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนคอร์ติซอล ลดความเครียด
- Lemon balm ลดความเครียด
- Holy Basil ป้องกันจากผลที่เกิดจากความเครียด เช่น ภาวะซึมเศร้าจากความเครียด
- Cordyceps เพิ่มภูมิคุ้มกัน
- Bacopa ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนคอร์ติซอล ช่วยเรื่องความจำ
- Melatonin ช่วยการนอนหลับ และลดอนุมูลอิสระ