8 อาหารเสริมบำรุงหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด

อาหารเสริมบำรุงหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด Topsvita  ท็อปส์ วีต้าอาหารเสริมบำรุงหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด Topsvita  ท็อปส์ วีต้า

หัวใจเปรียบเสมือนมอเตอร์หลักของร่างกาย จำเป็นต้องดูแลรักษาเพื่อให้มีอายุการใช้งานยืนยาว เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของภาวะหัวใจวายเฉียบพลันสามารถป้องกันได้ ขึ้นกับไลฟ์สไตล์และอาหารที่เรารับประทาน

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ 8 อาหารเสริมบำรุงหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือดกันเลยค่ะ




8 อาหารเสริมบำรุงหัวใจ

1.เส้นใยอาหาร

นอกจากจะลดลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้แล้ว ยังลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงของโรคอ้วน เบาหวาน อันเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดในสมองตีบได้อีกด้วย การศึกษาจากสหรัฐอเมริกาพบว่าคนส่วนมากรับประทานเส้นใยอาหารเพียงแค่ครึ่งเดียวจากปริมาณที่แนะนำต่อวันที่ 25-38 กรัม ดังนั้นใครที่รู้ตัวว่ารับประทานผักและผลไม้น้อย อาจลองเสริมธัญพืชหรือรับประทานเส้นใยอาหารเสริม เช่น Psyllium Husks,  Beta-Glucan หรือ Glucomannan ได้ค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมดื่มน้ำตามมากๆ และอาจจะต้องระวังเรื่องลมในท้องที่เกิดจากอาหารเส้นใยสูงได้ค่ะ

2.โอเมกา 3  

ทีมแพทย์โรคหัวใจทั้งในอเมริกาและยุโรป แนะนำให้คนที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจรับประทานกรดไขมันโอเมกา 3  DHA กับ EPA รวมกัน 1-3 กรัมต่อวันมานานกว่า 20 ปี ล่าสุดในปี 2019 มีงานวิจัย REDUCE-IT ที่แสดงให้เห็นว่ากรดไขมัน EPA ปริมาณสูงสามารถลดเรื่องของอัตราตายจากโรคหัวใจได้จริงและสามารถรับประทานเพิ่มเสริมยาลดไขมันในกลุ่ม Statin ได้ ปลาที่มีไขมันมาก เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า ยังคงเป็นแหล่งโอเมกา 3 ที่สำคัญ บางคนอยากหลีกเลี่ยงปัญหาสารตะกั่วปนเปื้อน ก็หันมารับประทานเป็น สาหร่ายทะเล เมล็ดเจีย วอลนัท หรือ จะเลือกเป็นสารเสริมอาหารในรูปน้ำมันปลา  น้ำมันคริลล์ ก็ได้ค่ะ 

3.ข้าวยีสต์แดง 

ความลับของการลดคอเลสเตอรอลของข้าวยีสต์แดงอยู่ที่สารออกฤทธิ์ Monacolin K ซึ่งเหมือนกับยา Lovastatin ดังนั้นใครที่กินยาลดไขมันในกลุ่ม Statin หรือมีปัญหาเรื่องตับอยู่แล้วไม่ควรกินข้าวยีสต์แดงเสริมค่ะ

4.Co. Q10

คนนิยมรับประทานสารเสริมอาหาร Co. Q 10 ขนาด 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อเพิ่มพลังการบีบตัวของหัวใจในคนที่มีปัญหาหัวใจวายเรื้อรัง เหนื่อยง่าย และอาจช่วยลดปัญหาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากยาลดไขมัน Statin ได้ด้วยน

5.วิตามินบี 3 (Niacin)  

มีมากในปลา เนื้อสัตว์ และอโวคาโด การรับประทานวิตามินบี3ในขนาดสูงถึง 1.5 กรัมต่อวัน สามารถเพิ่มไขมันดี HDL ได้ แต่อัตราการตายจากโรคหัวใจไม่ลดลงค่ะ ปกติจึงแนะนำการใช้วิตามินบี 3 ขนาดสูงในกลุ่มคนที่ไม่สามารถรับประทานยาลดไขมันกลุ่ม Statin ได้ ส่วนคนทั่วไป รับประทานวิตามินบี3 เพียง 15-30 มิลลิกรัมต่อวันก็เพียงพอ นอกจากนี้คนที่ดื่มสุราเป็นประจำหรือมีปัญหาเรื่องลำไส้ก็มีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินตัวนี้ค่ะ

6.แมกนีเซียม  

เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญในหลายๆ ระบบของร่างกายรวมถึงหัวใจ พบมากในผักใบเขียว ธัญพืชและถั่วเหลือง  แมกนีเซียมสามารถลดความดันโลหิตและลดระดับฮอร์โมนความเครียด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดการอักเสบในร่างกายได้ค่ะ หลายๆ งานวิจัยพบว่าคนที่รับประทานแมกนีเซียมในระดับสูง (ถึง 250 มิลลิกรัมต่อวัน) มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองตีบลดลงค่ะ

7.กระเทียม  

มีกรดอะมิโน Allicin ที่เชื่อว่าเป็นสารออกฤทธิ์หลักที่ช่วยลดความดันโลหิตและลดคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และยังอาจช่วยลดภาวะไขมันเกาะตับได้อีกด้วย  โดย  ฤทธิ์เหล่านี้ต้องใช้ปริมาณ Allicin ขนาดสูง กระเทียมยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 6 และวิตามินซีซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจค่ะ 

8.L-Carnitine   

เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน จึงมีความสำคัญต่อหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ หลายๆ งานวิจัยพบว่า L-Carnitine ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ ลดอาการเหนื่อยจากภาวะหัวใจวายเรื้อรัง และลดอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบได้ 


วิตามินหรือสารเสริมอาหารอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือมีผลข้างเคียงได้ในบางคน
ดังนั้นควรเริ่มรับประทานที่ขนาดน้อยๆก่อน หากใครที่มีโรคประจำตัว ควรแจ้งแพทย์ถึงอาหารเสริมที่รับประทานด้วยเสมอ
และอย่าลืมค่ะว่าหัวใจจะแข็งแรงได้ นอกจากอาหารบำรุงหัวใจแล้ว ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน และไม่สูบบุหรี่ด้วยค่ะ 
แนะนำสินค้าที่เกี่ยวกับบทความนี้

โปรโมชั่นพิเศษท็อปส์ วีต้า

คูปอง
แบบประเมินสุขภาพ