วิธีการคุมกำเนิดในปัจจุบัน

วิธีคุมกำเนิด  Tops Vita  ท็อปส์ วีต้าวิธีคุมกำเนิด  Tops Vita  ท็อปส์ วีต้า

ในปัจจุบันมีวิธีการคุมกำเนิดหลายประเภทซึ่งต้องอาศัยความรู้ที่ถูกต้องและความสม่ำเสมอในการใช้เพื่อผลลัพธ์ด้านคุมกำเนิด นอกจากการเลือกประเภทที่เหมาะสมกับแต่ละคนแล้ว ประสิทธิภาพการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง ตัวอย่างเช่น การคุมกำเนิดแบบใช้ฮอร์โมนหรือห่วงคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันการตั้งครรภ์แต่ไม่สามารถป้องกันการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ในขณะที่การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ หนองในแท้ หนองในเทียม หรือพยาธิในช่องคลอดได้ ในบทความนี้จะอธิบายถึงวิธีการคุมกำเนิดในปัจจุบัน รวมทั้งประสิทธิภาพ ข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสมในการใช้งานของการคุมกำเนิดแต่ละประเภท

การคุมกำเนิดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1. การคุมกำเนิดแบบถาวร คือการทำหมันชายและหญิง และ 2. การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว ได้แก่ การใช้ฮอร์โมน ห่วงคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย และการนับวันปลอดภัย




การคุมกำเนิดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1.การคุมกำเนิดแบบถาวร  

เหมาะสำหรับผู้ที่มีจำนวนบุตรเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ข้อดีของวิธีนี้คือ เป็นการคุมกำเนิดแบบถาวร ทำครั้งเดียวและสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 99% การผ่าตัดสามารถเสร็จลุล่วงได้ภายใน 1 วันเท่านั้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติภายในไม่กี่วันหลังจากการออกจากออกจากโรงพยาบาล โดยไม่มีผลกระทบต่อความต้องการทางเพศ การมีประจำเดือนหรือการให้นมบุตร (รูปที่1)

1.1 การทำหมันหญิง

เป็นการตัดและผูกท่อนำไข่ของเพศหญิงทั้งสองข้าง ทำให้สเปิร์มไม่สามารถผสมกับไข่บริเวณท่อนำไข่ได้ หลังจากการผ่าตัดจะมีผลการคุมกำเนิดในทันที อัตราการล้มเหลวของการคุมกำเนิดมีน้อยเพียง 0.5 % เท่านั้น 

1.2 การทำหมันชาย

หรือเรียกว่า vasectomy เป็นการตัดและผูกท่อนำอสุจิในเพศชาย กลไกการเช่นเดียวกับการทำหมันเพศหญิง คือทำให้สเปิร์มไม่สามารถออกไปในท่ออสุจิได้ แต่ต้องมีการนัดกับแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณเชื้อที่หลงเหลือเป็นเวลา 12 สัปดาห์เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดสเปิร์มในน้ำ


2.การทำหมันชั่วคราว ได้แก่  

2.1 การใส่ห่วงคุมกำเนิด 

หรือ IUD ห่วงคุมกำเนิดมีลักษณะเหมือนรูปตัว T โดยแพทย์จะสอดเข้าไปในมดลูกและห้อยเชือกที่ติดกับห่วงคุมกำเนิดไว้ด้านนอกปากมดลูก (รูปที่ 2) ห่วงคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนจะค่อยๆปลดปล่อยตัวยาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ค่อนข้างสูง ประมาณ 99% และสามารถมีระยะเวลาในการคุมกำเนิดได้นานถึง 3-10 ปีขึ้นกับประเภทของห่วง ข้อเสียของห่วงคุมกำเนิดคือต้องคอยตรวจเชือกที่ติดกับห่วงอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเคลื่อนตำแหน่งของห่วงคุมกำเนิดในมดลูก

ข้อเสียของห่วงคุมกำเนิดคือต้องคอยตรวจเชือกที่ติดกับห่วงอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเคลื่อนตำแหน่งของห่วงคุมกำเนิดในมดลูก

2.2 การคุมกำเนิดแบบใช้ฮอร์โมน

  • 2.2.1 การฝังยาคุมกำเนิด 
    ยาคุมกำเนิดแบบฝังมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็ก สอดเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน (รูปที่ 3) ยาคุมแบบฝังจะมีฮอร์โมนเรียกว่า progestin ที่ค่อยๆปลดปล่อยออกมาในกระแสเลือด การคุมกำเนิดแบบฝังมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง อัตราการล้มเหลวต่ำเพียง 0.1 % เท่านั้น และมีระยะเวลาออกทธิ์นานถึง 3-5 ปี ขึ้นกับชนิดของยา อาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่ เลือดออกกระปริบกระปรอยและน้ำหนักขึ้น

  • 2.2.2 การฉีดยาคุม
    ยาคุมกำเนิดแบบฝังมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็ก สอดเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน (รูปที่ 3) ยาคุมแบบฝังจะมีฮอร์โมนเรียกว่า progestin ที่ค่อยๆปลดปล่อยออกมาในกระแสเลือด การคุมกำเนิดแบบฝังมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง อัตราการล้มเหลวต่ำเพียง 0.1 % เท่านั้น และมีระยะเวลาออกทธิ์นานถึง 3-5 ปี ขึ้นกับชนิดของยา อาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่ เลือดออกกระปริบกระปรอยและน้ำหนักขึ้น

  • 2.2.3 ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด 
    แบ่งย่อยได้เป็น 3 ประเภท

    1. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
    จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานทันที หรือภายใน 72 ชม.หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ไม่ควรรับประทานเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน อาการข้างเคียงได้แก่ ประจำเดือนคลาดเคลื่อน เลือดออกกระปริบกระปรอย คลื่นไส้ อาเจียน

    2. ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม
    วิธีนี้สามารถพบได้บ่อยที่สุด โดยจะมีการรวมฮอร์โมนสองชนิด คือ estrogen และ progesterone เข้าด้วยกันในเม็ดเดียว เพื่อเลียนแบบฮอร์โมนในร่างกาย ข้อเสียของวิธีนี้คือต้องรับประทานทุกวันจึงทำให้เสี่ยงต่อการลืมรับประทานยาได้ ไม่เหมาะกับสตรีให้นมบุตร เนื่องจากจะทำให้ไม่มีน้ำนม และควรหลีกเลี่ยงในสตรีที่อายุเกิน 35 ปีที่สูบบุหรี่ หรือมีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน หรือมะเร็งเต้านม โดยปกติแล้วจะมีอัตราการล้มเหลวของการคุมกำเนิดราว 7%

    3. ฮอร์โมนเดี่ยว
    จะมีเพียงฮอร์โมนชนิด progesterone หรือ progestin เท่านั้น เหมาะกับสตรีให้นมบุตร แต่สามารถเกิดเลือดออกกระปริบกระปรอยได้บ่อย

  • 2.2.4 แผ่นแปะคุมกำเนิด  
    แผ่นแปะคุมกำเนิดใช้แปะที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง สะโพก หลังหรือแขน แต่ไม่ควรแปะบริเวณหน้าอก (รูปที่ 4) แผ่นแปะจะค่อยๆปลดปล่อย estrogen และ progesterone ออกมาในร่างกาย สามารถแปะหนึ่งแผ่นต่อสัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์หลังจากนั้นไม่ต้องแปะในสัปดาห์ที่ 4 ซึ่งจะทำให้มีประจำเดือนในสัปดาห์ที่ไม่มีฮอร์โมนนั้น อัตราการล้มเหลวของการคุมกำเนิดมีเพียง 7% อาการข้างเคียงได้แก่ ระคายเคืองที่ผิวหนัง คัน และคัดตึงเต้านม

3.ถุงยางอนามัย  

3.1 การใส่ห่วงคุมกำเนิด 

สามารถคุมกำเนิดโดยป้องกันสเปิร์มไม่ให้เข้าสู่มดลูกเพื่อมาปฏิสนธิกับไข่ และสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย (รูปที่ 5) รูปแบบที่พบได้บ่อยคือชนิดยางพาราและสามารถใช้ได้ครั้งเดียว หากใช้ถุงยางอนามัยไม่ถูกวิธีหรือคุณภาพต่ำจะทำให้มีอัตราการคลาดเคลื่อนในการคุมกำเนิดถึง 13% ถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพาราสามารถเข้ากันได้ดีกับสารหล่อลื่นชนิดน้ำ หรือ KY เจล ไม่ควรใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นชนิดน้ำมัน เช่น เบบี้ออย โลชั่น หรือ วาสลีน เพราะจะทำให้ถุงยางขาดรั่วได้

3.2 ถุงยางอนามัยเพศหญิง  

กลไกเดียวกับถุงยางอนามัยเพศชาย คือป้องกันสเปิร์มเข้าสู่ร่างกายของเพศหญิง (รูปที่ 5) ถุงยางอนามัยจะสอดเข้าไปในช่องคลอดเพศหญิง สามารถสอด 8 ชม. ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ อัตราการล้มเหลวในการคุมกำเนิดสูงถึง 21 % แต่อาจสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้


4.การนับวัน  

วิธีการนี้เหมาะสำหรับผูหญิงที่มีประจำเดือนมาตรงและสม่ำเสมอทุกเดือน และมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรอบเดือน หากไม่ต้องการตั้งครรภ์สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสสัมพันธ์หรือใช้ถุงยางอนามัยช่วงที่มีการไข่ตกได้ และมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีอัตราการล้มเหลวสูงถึง 23% เนื่องจากอาจมีการนับวันคลาดเคลื่อนได้

นอกจากนี้ยังมีวิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ เช่น การหลั่งภายนอกในเพศชาย ใช้สารฆ่าอสุจิ หรือการสวนล้างช่องคลอด ซึ่งมีอัตราการล้มเหลวสูงและไม่แนะนำโดยสูตินรีแพทย์ การหลั่งภายนอกจะมีประสิทธิภาพการคุมกำเนิดต่ำเพียง 78% เท่านั้น หมายความว่า ผู้หญิง 22 คนจาก 100 คนที่เลือกใช้การหลั่งภายนอกมีโอกาสตั้งครรภ์ การใช้สารฆ่าอสุจิและการสวนล้างช่องคลอดจะทำให้ช่องคลอดระคายเคืองและง่ายต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์



โดยสรุปการเลือกประเภทของการคุมกำเนิดขึ้นอยู่กับการวางแผนในการมีบุตร ระยะเวลาในการคุมกำเนิด อาการข้างเคียง ประสิทธิภาพ การมีจำหน่ายในท้องตลาด ความปลอดภัยและข้อจำกัดในแต่ละบุคคลเพื่อให้ได้ประโยชน์ในการคุมกำเนิดสูงสุด

โปรโมชั่นพิเศษท็อปส์ วีต้า

คูปอง
แบบประเมินสุขภาพ