

Highlight :
-กัญชง หรือ เฮมพ์ (Hemp) ไม่มีฤทธิ์เสพติด เนื่องจากมีสาร THC ปริมาณต่ำมาก (สาร THC เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท)
-น้ำมันจากเมล็ดกัญชง ( Hemp Seed Oil ) มีสรรพคุณดังนี้
1.ช่วยลดการทำงานของเกล็ดเลือด
2.ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น
3.ลดอาการผิวแห้งกร้าน
4.มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
กัญชง หรือ เฮมพ์ (Hemp) เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับกัญชา เนื่องจากการสกัดน้ำมันกัญชงจะบีบอัดจากเมล็ด ไม่เหมือนกัญชา ที่สกัดจากดอก ทำให้น้ำมันกัญชงไม่มีฤทธิ์เสพติด เนื่องจากสารประกอบสำคัญในกัญชง เช่น สาร THC มีปริมาณต่่ำมากเมื่อเทียบกับน้ำมันกัญชา (สาร THC เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท)
มาทำความเข้าใจสาร THC และ CBD ในกัญชงและกัญชา
1.สาร THC (Tetrahydrocannabinol)
สารเป็นสารที่ทำให้เมาหรือเคลิบเคลิ้ม ในกัญชา พบสารนี้ 1-20% ส่วนกัญชงมีสารชนิดนี้น้อยกว่า 1% (กัญชงจึงไม่ทำให้เสพติด) ปกติแล้วสาร THC มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิด 2.สาร CBD (Canabidiol)
สารนี้พบได้ในกัญชงมากกว่ากัญชา โดยพบประมาณ 2% แต่ในกัญชามีสารชนิดนี้อยู่น้อย สาร CBD ช่วยทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับสบาย ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร มารู้จักประโยชน์แต่ละส่วนของต้นกัญชง
- เมล็ดกัญชง นิยมสกัดเอาน้ำมัน ใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
- ช่อดอก นิยมสกัดเอาสาร ไฟโตแคนาบินอยด์ มาผสมเพื่อเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
- ใบ นิยมนำไปผลิตปุ๋ยชีวภาพ แผ่นใยไม้อัด
- เปลือก และลำต้น ทำเป็นเส้นใย เยื่อกระดาษ ฉนวนกันความร้อน ไบโอพลาสติก
- แกนลำต้น มีน้ำหนักเบาใช้ทำอิฐ หรือผสมคอนกรีต (Hemp Concrete) สำหรับงานก่อสร้าง
สารประกอบในน้ำมันเมล็ดกัญชง
น้ำมันกัญชง อุดมด้วยกรดไขมันโอเมกา-6 (กรดลิโนเลอิก และกรดลิโนเลนิกแกมมา) และกรดไขมันโอเมกา-3 (กรดลิโนเลนิกอัลฟา) ในปัจจุบันเราพบว่า น้ำมันกัญชงถูกนำมาใช้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ น้ำมันหล่อลื่น สี หมึก เชื้อเพลิง พลาสติก สบู่ แชมพู
น้ำมันจากเมล็ดกัญชง ( Hemp Seed Oil ) อาจมีสรรพคุณดังนี้
-
ช่วยลดการทำงานของเกล็ดเลือด
-
ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น
-
ลดอาการผิวแห้งกร้าน
-
มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
เนื่องจากกัญชง ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ดังนั้นการจะนำมาใช้
- ต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.01 โดยน้ำหนัก
- หากจะผลิตเป็นยาสมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร ต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร เท่านั้น
- หากจะผลิตเป็นอาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางอาหารเท่านั้น
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 429 (27 ส.ค.2564) ได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผสมกัญชงจะต้องมี CBD ได้ไม่เกิน 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ppm) และ THC ไม่เกิน 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ใน 4 ประเภทอาหาร คือ
- ผลิตภัณฑ์เสริม ชนิดเม็ด แคปซูล และของเหลว
- เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสอัดก๊าซ
- เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสไม่อัดก๊าซ
- เครื่องดื่มธัญชาติ (Cereal and grain beverages)
โดยผลิตภัณฑ์ที่พบในท้องตลาด ณ ตอนนี้ จะเป็นอาหารเสริมชนิดเม็ด แคปซูล หรือของเหลวในแคปซูล โดยมีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและดูแลสุขภาพแบบองค์รวม บำรุงประสาทและสมอง ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย เพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับ ส่วนขนาดที่แนะนำคือ 100-600 มิลลิกรัมต่อวัน (ไม่แนะนำในผู้ที่อายุต่ำกว่า 18ปี คนชรา คนท้อง คนให้นมบุตรและผู้ที่กำลังทานยาโรคต้านอาการซึมเศร้าหรือยาคลายเครียด)
กล่าวโดยสรุปคือ วิวัฒนาการของกัญชง (Hemp) ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมทีแม้จะถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ประชาชนทั่วไปรู้จักกันดีและถูกนำมาใช้ประโยชน์มายาวนาน แต่ด้วยองค์ประกอบในกัญชงมีสารต้องห้ามและเป็นอันตรายปนอยู่เหมือนกัญชา จึงต้องมีการควบคุมตามกฎหมายเพื่อไม่ให้มีการนำไปใช้ผิดจุดประสงค์หรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนอาจกระทบต่อสุขภาพของประชาชน